โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ส่วนประกอบของอสุจิ

1.ส่วนหัว 2.ส่วนลำตัว 3.ส่วนหาง

image026

 

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-7 แสดงโครงสร้างของอสุจิ

ที่มา: ซีดีโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์ คณาจารย์ภาควิชาสูติ-นรีเวชวิทยา

คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

1. ส่วนหัว (Head) มีลักษณะรูปไข่ ภายในมีนิวเคลียสบรรจุไว้เกือบเต็ม ทางส่วนหน้าสุดของส่วนหัวจะมีลักษณะเป็นถุง เรียกว่า อะโครโมโซม (acrosome) ซึ่งพัฒนามาจาก golgo bodies มีเอนไซม์ซึ่งสามารถย่อยสลายผนังเซลล์ของไข่ เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส(hyaluronidase) หรือ ไฮโดรไลติก เอนไซม์ (hydrolytic enzyme) หรือ ไลซิน (lysin)

2. ส่วนลำตัว (Midpiece หรือ Middle piece) เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนหัว มี mitochondriaจำนวนมากเรียงเป็นเกลียว ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับสเปิร์ม

3. ส่วนหาง (Tail หรือ Flagellum) เป็นส่วนของหลอดโปรตีน (microtubule)ที่ยื่นออกมาจาก เซนตริโอล มีหน้าที่พัดโบกให้สเปิร์มเคลื่อนที่ไปได้

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์เพศชาย

อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย

image028

 

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-8 แสดงภาพตัดขวางของระบบสืบพันธุ์เพศชาย

อัณฑะ (Testis) มี 1 คู่อยู่ภายใน ถุงอัณฑะ (Scrotum) ซึ่งถุงอัณฑะมีหน้าที่สำคัญหรือช่วยในการปรับอุณหภูมิให้เหมาะต่อการสร้างอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ตอนเป็นตัวอ่อน อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่อใกล้คลอดอัณฑะจะเคลื่อนที่ลงสู่ถุงอัณฑะ ทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าภายในช่องท้อง 2-3 องศาเซลเซียส มีผลให้ seminiferous tubule สร้างอสุจิ

image030

 

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-9 แสดงภาพตัดขวางของอัณฑะ

ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะ ในการสร้างตัวอสุจิ ตัวอสุจิเจริญได้ดี ในอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกาย ประมาณ 3-5องศาเซลเซียส

image032

 

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-10 แสดงถุงอัณฑะ

3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epidymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ยาวประมาณ 6 เมตรขดไปมา ทำหน้าที่ เก็บเซลล์อสุจิจนเซลล์อสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิสนธิ

image034

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-11 หลอดเก็บตัวอสุจิ

4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ ลำเลียง ตัวอสุจิ ไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

image036

 

http://watchawan.blogspot.com

 

รูปที่ 5-12 หลอดนำตัวอสุจิ

5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่ สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ

6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ เข้าไปในท้อปัสสาวะ เพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพ ที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ

image028

 

http://watchawan.blogspot.com

 

รูปที่ 5-13 แสดงต่อมลูกหมาก ต่อมคาวเปอร์

7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก เป็นกระเปราะเล็ก ๆ

ทำหน้าที่สร้างเมือกและหลั่งสารไปหล่อลื่นในท่อปัสสาวะ ในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ

ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น

image041

http://watchawan.blogspot.com

รูปที่ 5-14 แสดงผังทางเดินของอสุจิ

ที่มา : ซีดีโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์ คณาจารย์ภาควิชาสูติ-นรีเวชวิทยา

คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

  • เซลล์อสุจิที่สร้างแล้วซึ่งอยู่ในช่องว่างของ seminiferous tubule จะเดินทางผ่านไปตามท่อน้ำเชื้อ ระหว่างนี้จะมีกระบวนการทางเคมี ที่ช่วยทำให้อสุจิมีความสมบูรณ์ และความสามารถในการปฏิสนธิเพิ่มขึ้น ท่อนำเชื้อจะนำอสุจิไปรวมกับน้ำอสุจิ ที่สร้างจากถุงน้ำอสุจิและต่อมลูกหมาก ก่อนที่จะเปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะและหลั่งออกสู่ภายนอกต่อไป
  • การหลั่งอสุจิเป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท และฮอร์โมนหลายอย่าง เมื่อมีความรู้สึกทางเพศ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ จะมีคำสั่งจากสมองให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ บริเวณองคชาติเพิ่มมากขึ้น องคชาติจะบวม ขยายใหญ่และแข็งตัว ขณะเดียวกันจะมีการเคลื่อนไหวของอสุจิผ่านท่อน้ำเชื้อ มายังท่อปัสสาวะ ต่อมากล้ามเนื้อบริเวณฐานขององคชาติจะหดรัดตัวเป็นจังหวะ บีบให้น้ำอสุจิหลั่งออกมาทางท่อปัสสาวะสู่ภายนอก เมื่อการหลั่งน้ำอสุจิสิ้นสุดลง ระบบประสาทจะสั่งการให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่องคชาติลดลง มีผลทำให้องคชาติอ่อนตัว และมีขนาดเล็กลงสู่ภาวะปกติ นอกจากอวัยวะสืบพันธุ์และการควบคุมของฮอร์โมนตลอดจนระบบประสาทต่าง ๆ ที่ปกติแล้ว กระบวนการหลั่งอสุจินี้ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจด้วย

 

 

Leave a comment